4 มิ.ย.63 - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “ห้องตรวจหาเชื้อ (Modular Swab Unit)”ภายใต้ “โครงการเครื่องช่วยหายใจและเครื่องมือแพทย์พระราชทาน” ให้กับโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นแห่งที่ 15 โดยได้พระราชทานพระราชทรัพย์ให้เอสซีจีดำเนินการก่อสร้างให้ 20 โรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อเสริมความพร้อมหากมีสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่
พิธีรับพระราชทานห้องตรวจหาเชื้อครั้งนี้ มีพลเรือเอกลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือโทวิชัย มนัสศิริวิทยา เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ พลเรือตรีเกิดศักดิ์ วีระโยธิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ นายเสรี เจตสุคนธร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี แพทย์หญิงลานทิพย์ เหราปัตย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและควบคุมโรค เขต 6 ชลบุรี นายอนุชา อินทศร นายอำเภอสัตหีบ นายยุทธนา เจียมตระการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารกลาง เอสซีจี ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างเอสซีจี ร่วมพิธี ณ อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ
ห้องตรวจหาเชื้อ (Modular Swab Unit) ดังกล่าว มีการแยกพื้นที่ระหว่างทีมแพทย์และคนไข้ออกจากกัน และใช้ระบบควบคุมแรงดันและคุณภาพอากาศที่เหมาะสม พร้อมมีระบบฆ่าเชื้อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยสามารถติดตั้งในพื้นที่จำกัดได้ในเวลาเพียง 3 วัน ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ขณะปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งประชาชนที่มาตรวจรักษา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจต่อบุคลากรทางการแพทย์ อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่มาใช้บริการ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มาจากพัทยาและโรงพยาบาลใกล้เคียงการตรวจหาเชื้อจากผู้ป่วยเป็นจุดที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ หากสถานการณ์โควิด-19 เบาบางลงยังสามารถใช้สำหรับตรวจสอบเชื้อวัณโรคและโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้อีกด้วย
สำหรับห้องตรวจหาเชื้อดังกล่าว พัฒนาจากเทคโนโลยีของ SCG HEIM และ Living Solution ซึ่งได้ออกแบบให้มีระบบที่จะช่วยควบคุมแรงดันและการหมุนเวียนของอากาศให้สะอาด ปลอดภัย มีระบบการป้องกันอากาศรั่วไหล ที่ทำให้ห้องปิดสนิท ป้องกันอากาศเข้า-ออกตัวอาคาร ทำให้ภายในอาคารสามารถควบคุมแรงดันอากาศได้เป็นอย่างดี ช่วยเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยแก่บุคลากรทางการแพทย์ขณะปฏิบัติหน้าที่ได้มากขึ้น
โดยนวัตกรรมห้องตรวจหาเชื้อนี้ พัฒนาจากเทคโนโลยีของ SCG HEIM และ Living Solution ภายในห้องตรวจผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้ออกแบบให้มีระบบ Smart Indoor Air Quality ที่ช่วยควบคุมแรงดันและการหมุนเวียนของอากาศให้สะอาด ปลอดภัย และระบบการป้องกันอากาศรั่วไหล (Air Tightness) ที่ทำให้ห้องปิดสนิท ป้องกันอากาศเข้า–ออก ตัวอาคาร ทำให้ในตัวอาคารสามารถควบคุมแรงดันอากาศได้เป็นอย่างดี
โดยทีมแพทย์จะอยู่ในห้องความดันบวก ที่ไม่มีอากาศเสียจากภายนอกเข้าไป อากาศภายในจึงบริสุทธิ์ปลอดภัย ส่วนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงติดเชื้อจะอยู่ในห้องความดันลบ และมีระบบดูดอากาศเสียออกไปกำจัดอย่างต่อเนื่อง จึงป้องกันไม่ให้มีอากาศฟุ้งกระจายออกไปภายนอก เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้แก่ทีมแพทย์
การเก็บตัวอย่าง (Swab) จะทำผ่านแผ่นอะคริลิกที่เจาะเป็นช่องโดยแพทย์สามารถสอดมือผ่านช่องที่มีถุงมือคลุมด้วยพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อเก็บตัวอย่าง จึงลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากผู้ที่เข้ารับการตรวจพร้อมใช้แสงยูวีเข้มข้นสูง ฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ (UV Germicide) หลังจากการใช้งานในห้องทุกครั้ง ทั้งนี้ โครงสร้างกว่าร้อยละ 80 ประกอบขึ้นรูปภายในโรงงานที่มีการควบคุมคุณภาพและความสะอาดตลอดกระบวนการผลิต และยังสามารถติดตั้งได้รวดเร็ว
ทั้งนี้ โรงพยาบาล 20 แห่งทั่วประเทศ ที่ได้รับพระราชทานนวัตกรรม “ห้องตรวจหาเชื้อ” พัฒนาโดย “เอสซีจี” ได้แก่ 1.โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ 2.โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว 3.โรงพยาบาลกลาง 4.สถาบันโรคทรวงอก 5.สถาบันบำราศนราดูร 6.โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 7. โรงพยาบาลตำรวจ 8.โรงพยาบาลราชบุรี 9.โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา 10. โรงพยาบาลนครปฐม 11.โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ 12.โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ 13.โรงพยาบาลนครพิงค์ 14.โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา 15. โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ 16 . โรงพยาบาลอุดรธานี 17.โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 18.โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี 19.โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และ 20.โรงพยาบาลหาดใหญ่
"ห้อง" - Google News
June 04, 2020 at 01:20PM
https://ift.tt/2Y33TrU
'ในหลวง-ราชินี' พระราชทาน 'ห้องตรวจหาเชื้อ' แห่งที่ 15 ให้ รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ - ไทยโพสต์
"ห้อง" - Google News
https://ift.tt/2XmOq6Z
No comments:
Post a Comment