เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ต้องปรับตัว ฝ่าโควิด จากเปิดพักรายวัน ยุคท่องเที่ยวเฟื่องฟู สู่การรุกขยายฐาน รับลูกค้า ทั้งพักระยะสั้น และระยะยาว
นายธีราธร ประพันธ์พงศ์ หัวหน้าแผนกให้เช่าที่พักอาศัย ซีบีอาร์อี ประเทศไทย บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่มีมาตรการจำกัดการเดินทาง ซึ่งเป็นผลจากโควิด-19 ความต้องการเข้าพักอาศั
ยระยะสั้น ลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการท่องเที่ยวทั่วโลก หยุดชะงัก ทำให้ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ต้องปรับตัว เพื่อความอยู่รอด
ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ จึงมีแนวโน้ม จะมุ่งเน้นไปที่ชาวต่างชาติ ที่ทำงานในประเทศ ซึ่งพักอาศัยระยะยาว เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาวะตลาดใหม่ที่เกิดขึ้น และไม่ใช่ครั้งแรก ที่ตลาด เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ต้องปรับตัว ให้เข้ากับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป
ที่ผ่านมา การเติบโตแบบทวีคูณ ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ของประเทศไทย จากจำนวนนักท่องเที่ยว 10 ล้านคนในปี 2546 เป็นเกือบ 40 ล้านคนในปี 2562 ทำให้ผู้ประกอบการ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ปรับตัว เปลี่ยนไปให้ความสำคัญ กับตลาดพักอาศัยรายวันมากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้มากที่สุด
ทั้งนี้เพราะผู้เข้าพักระยะยาว แม้จะทำให้มีอัตราการเข้าพักที่สม่ำเสมอ แต่มีอัตราค่าเช่าเฉลี่ยต่อคืนที่ต่ำกว่า ขณะที่ผู้เข้าพักระยะสั้น อาจจะมีอัตราการเข้าพักที่ผันผวนกว่า แต่ให้อัตราค่าเช่าเฉลี่ยต่อคืนสูงกว่า
นี่คือเหตุผลว่า ทำไมเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ใหม่ส่วนใหญ่ จึงขอ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าทั้งสองกลุ่มได้ และเพื่อกระจายความเสี่ยง
การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งถูกซ้ำเติมจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ยังได้ส่งผลกระทบในเชิงลบ ต่อความต้องการพักอาศัย ทั้งระยะยาว และระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะของตลาดให้เช่าระยะยาว ทำให้สามารถรับมือกับผลกระทบจากโควิด-19ได้ดีกว่า เพราะบริษัทส่วนใหญ่ ทำสัญญาเช่ารายปี ให้กับพนักงานชาวต่างชาติของตนเอง
“การผสมผสาน ระหว่างแขกที่เข้าพักระยะยาวและระยะสั้น จึงมีแนวโน้มที่จะกลายเป็น “เทรนด์ในอนาคต” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ โควิด-19 ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการปรับตัว ด้วยการเจาะตลาดที่หลากหลายมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ทุกแห่ง ที่มีความยืดหยุ่นมากพอ ที่จะเข้าถึงตลาดทั้งสองกลุ่มได้” นายธีราธร กล่าว
สำหรับเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ที่สร้างมานานแล้ว มักจะมีข้อจำกัดทางโครงสร้าง ทำให้ไม่สามารถขอ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม ได้ และแม้ว่าจะได้รับใบอนุญาตแล้ว ก็ไม่อาจรับประกันได้ว่า เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ทุกแห่ง จะได้รับประโยชน์ จากการมีผู้เข้าพัก ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
การมุ่งเน้นไปที่ผู้เข้าพักระยะสั้น ทำให้เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ต้องแข่งขันกับ โรงแรม ซึ่งอาจจะไม่ได้ส่งผลดี นอกจากนี้ กลุ่มลูกค้าที่เข้าพักระยะยาวจะไม่ค่อยชื่นชอบ ที่โครงการมีคนพลุกพล่านมากขึ้น และกระทบต่อความเป็นส่วนตัว อันเนื่องจากการเข้าพักระยะสั้นของนักเดินทาง
เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์หลายแห่ง ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ สำหรับชาวญี่ปุ่นนั้น ปรับเปลี่ยนได้ยากกว่า เนื่องจาก เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์เหล่านี้ เปิดรับเฉพาะชาวญี่ปุ่น ที่เข้าพักอาศัยระยะยาวเท่านั้น รวมถึงมีบริการ และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่ตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าชาวญี่ปุ่น โดยเฉพาะ เช่น ห้องน้ำและการตกแต่งภายในห้องพักแบบญี่ปุ่น
ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัว ของเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์เหล่านี้ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ผู้เช่าชาวญี่ปุ่น จึงอาจจะไม่สอดคล้องต่อความต้องการของนักเดินทางที่เข้าพักระยะสั้น
นับจากนี้ไป การให้บริการของ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ จะมุ่งสู่การผสมผสาน ระหว่างแขกที่เข้าพัก ทั้งระยะสั้นและระยะยาว แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ไม่ใช่ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ทุกแห่ง จะสามารถปรับเปลี่ยนไปสู่ การเป็น เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ รุ่นใหม่ ที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนให้เพิ่มขึ้น และทำให้ก้าวผ่านวิกฤติในอนาคต ด้วยการ กระจายความเสี่ยงได้
ที่ผ่านมา ในช่วงที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย เติบโตอย่างมาก ส่งผลให้ เกิดเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ หรือหอพัก ที่ปกติเปิดเช่า เป็นรายเดือน ขึ้นป้ายประกาศให้เช่าเป็นรายวัน เป็นจำนวนมาก รวมทั่วประเทศหลายหมื่นห้อง
การเปิดรายวันของ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ สามารถทำราคาได้ ถูกกว่าโรงแรม เพราะมีต้นทุนการดำเนินงาน ที่ต่ำกว่าโรงแรม ทำให้ที่ผ่านมา เกิดการร้องเรียน ของกลุ่มธุรกิจโรงแรม ให้ตรวจสอบ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ที่เปิดเช่ารายวัน ว่ามี ใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม หรือไม่ เนื่องจากส่งผลกระทบกับธุรกิจโรงแรม อย่างมาก
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend Follow"ห้อง" - Google News
June 25, 2020 at 09:05AM
https://ift.tt/2Yu3wbi
เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ต้องปรับตัว จากห้องรายวันเฟื่องฟู ยุคท่องเที่ยวบูม - thebangkokinsight.com
"ห้อง" - Google News
https://ift.tt/2XmOq6Z
No comments:
Post a Comment