วันนี้ (31 ก.ค.63) ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีโคเคนที่กำลังเป็นกระแสว่ามีการนำมาใช้ในทางทันตกรรมหรือไม่ว่า ปัจจุบันการใช้สารเสพติดทางการแพทย์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ยาเสพติดให้โทษประเภท 2 และ 4 โดยประเภทที่ 2 มีอยู่ 20 ตัว อาทิ มอร์ฟีน และโคเคน โดยกลุ่มนี้จะเป็นยาที่ อย. เป็นผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว ส่วนมากจะใช้เป็นยาชาเฉพาะจุดในห้องผ่าตัด โดยเฉพาะจมูกและคอ
ภญ.สุภัทรา กล่าวว่า สำหรับยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 นั้น อย.เป็นผู้จัดจำหน่ายแต่ผู้เดียว โดยจัดส่งให้สถานพยาบาล ตามการร้องขอ และทำรายละเอียดว่ามีการใช้จำนวนมากเท่าไร แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดว่ามีแพทย์ท่านใดเป็นผู้ใช้บ้าง ซึ่งแต่ละปีจะมีการใช้ปริมาณ 1 กิโลกรัม โดยจากข้อมูลปี 2562 มีการใช้ 0.5 กิโลกรัม ปี 2561 มีการใช้ 0.75 กิโลกรัม และปี 2560 มีการใช้ 1.2 กิโลกรัม ในภาพรวมย้อนหลัง 8-10 ปี มีการขออนุญาตใช้ประมาณ 1 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมียาชาตัวอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า
“โคเคนจะออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง ทำให้เคลิ้ม หัวใจเต้นเร็ว เต้นผิดจังหวะ และช็อกได้ หากใช้ในปริมาณมากและใช้เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้า” ภญ.สุภัทรากล่าว
ทั้งนี้การครอบครองโคเคน โดยไม่มีใบอนุญาตจะผิดตามมาตรา 69 ของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ใดจำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาทถึง 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.
"ห้อง" - Google News
July 31, 2020 at 02:22PM
https://ift.tt/318eIe5
อย.แจงโคเคนเป็นยาชาเฉพาะจุด ใช้ในห้องผ่าตัด - ช่อง 7
"ห้อง" - Google News
https://ift.tt/2XmOq6Z
No comments:
Post a Comment