คอลัมน์ผ่ามุมคิด "โควิดดัสรัปชั่น” ที่ปฎิวัติการทำธุรกิจหลายอุตสาหกรรม ผ่านเจ้าของธุรกิจต่างปรับตัวตอบรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนและถูกจำกัดอย่างฉับพลันพร้อมกัน แง่การนำ ดิจิทัล 360 องศา-แพลตฟอร์มการขายออนไลน์เข้ามาแก้ปัญหา
"โควิดดัสรัปชั่น” ที่ปฎิวัติการทำธุรกิจหลายอุตสาหกรรม ผ่านเจ้าของธุรกิจต่างปรับตัวตอบรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนและถูกจำกัดอย่างฉับพลันพร้อมกัน โดยเฉพาะในแง่การนำ ดิจิทัล 360 องศา-แพลตฟอร์มการขายออนไลน์เข้ามาแก้ปัญหา ซึ่งเห็นได้ชัดในวงการอสังหาริมทรัพย์ ช่วงล็อกดาวน์ ลูกค้ากักตัวเดินทางไม่ได้นั้น ยังเป็นคำถาม ว่าเป็นเพียงเทรนด์ชั่วคราว หรือ New Normal ระยะยาว ท่ามกลางจุดท้าทาย ออนไลน์ ทดแทน ประสบการณ์ร่วมได้จริงหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ปรากฎการณ์โครงการ “ดิ ออริจิ้น อ่อนนุช” ถูกขายหมดเกลี้ยงภายใน 1 ชั่วโมง ภายใต้การขายออนไลน์แบบ 100% และไร้ห้องตัวอย่าง (Sales Gallery)โครงการแรกของไทย กลับเป็นการตอกย้ำความเชื่อมั่นของ นายพีระพงษ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ถึงกลยุทธ์ใหม่ Evenprop ที่จะใช้แข่งขัน และพยุงอุตสาหกรรมหลังยุคโควิด ทั้งต้นทุน-ราคาขายที่ลดลง และการขายที่พุ่งเป้ากลุ่มลูกค้า GenZ, GenY ได้มากขึ้น ย้ำ! “เพราะตลาดอสังหาฯยังต้องเฝ้าระวัง”
ไตรมาส 3 โจทย์หิน
วันนี้ต้องยอมรับว่าโควิด-19 มีข้อดีอยู่บ้าง ในแง่การช่วยดูดซับซัพพลายคงค้างที่เหลืออยู่ในตลาดให้หายไปได้เร็วขึ้น ก่อนหน้าสต๊อกสร้างเสร็จพร้อมอยู่ของตลาด ใช้เวลานาน 2 ปีระบายออก แต่โควิด ที่ปิดประตูโครงการใหม่ ทำให้เวลาในการย่อยซัพพลายเหล่านั้นต่ำลงเหลือเพียง 18 เดือน อย่างไรก็ตาม แม้ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา หลายบริษัทสร้างยอดขายและยอดโอนฯ ได้คึกคัก จากการพร้อมใจกันลดราคา แต่ไตรมาส 3 ซึ่งถูกมอง ว่าสัญญาณกำลังซื้อเริ่มกลับมามีทิศทางที่ดีขึ้นโดยไม่ต้องกระตุ้นนั้น อาจไม่ใช่อย่างที่คิด เพราะทิศทางเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว อารมณ์การซื้อของลูกค้ายังอ่อนไหว ข่าวการถูกเลิกจ้าง บ้างคนใกล้ตัวถูกลดเวลางาน กลายเป็นความกังวลไม่เชื่อมั่นต่ออาชีพและรายได้ อีกทั้ง ดีมานด์เริ่มหมด จากการถูกแคมเปญ, โปรโมชันต่างๆ ตลอดไตรมาส 2 เค้นไปล่วงหน้า ฉะนั้นตลาดยังท้าทายและต้องเฝ้าระวัง ขณะเดียวกัน ในแง่ผู้พัฒนา จำเป็นต้องหากลยุทธ์ใหม่ๆ มาดึงกำลังซื้อจากโจทย์หินที่ยากขึ้น เช่น การแสวงหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เป็นต้น
จุดพลุลดต้นทุน
ขณะอุปสรรค-ข้อจำกัดของตลาดคอนโดฯ แม้มีวิกฤติ นอกจากเรื่องกำลังซื้อแล้ว คือ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของราคาโครงการใหม่ ซึ่งแต่ละปีกราฟพุ่งไม่ต่ำกว่า 4-6 % เพราะล้วนมาจากราคาที่ดินและค่าก่อสร้างที่กดดัน ผู้พัฒนาไม่มีทางเลือก ทางออก คือ ต้องช่วยกันปรับลดต้นทุนส่วนอื่นๆ เพื่อดึงกราฟให้ต่ำลง อย่างไรก็ตาม เดิมผู้ประกอบการ มักเลือกใช้วิธี การลดสเปกห้อง, ลดคุณภาพของงาน, ใช้วัสดุ -กระเบื้อง-สุขภัณฑ์เกรดต่ำลง เพื่อแลกกับราคาถูกให้ลูกค้าเข้าถึง แต่ปัจจุบันจากกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนไป ผู้ซื้อกลุ่มใหญ่คนเจน Z เจน Y อ่อนไหวต่อภาพลักษณ์ ให้ความสำคัญกับโปรดักต์สูง ฉะนั้น การลดต้นทุนวิธีดังกล่าว อาจไม่ได้รับการตอบรับ ทั้งนี้ จากลูกค้ากลุ่มใหญ่ คือ คนรุ่นใหม่ ซึ่งมาพร้อมกับพฤติกรรมการเลือกซื้อที่เปลี่ยนไป มีการศึกษา วางแผน ใช้ดิจิทัล, ออนไลน์เข้ามาเป็นส่วนประกอบ จึงเป็นโอกาสของช่องทางลดต้นทุนใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อฝั่ง
ผู้พัฒนา และผู้ซื้อได้ สะท้อนจากความสำเร็จของบริษัท ในการพรีเซลโครงการ “ดิ ออริจิ้น อ่อนนุช” ซึ่งทำบนแพลทฟอร์มอีเวนต์การขายออนไลน์ใหม่ “evenprop” โดยไม่มีสำนักงานขาย หรือแม้แต่พนักงานขาย โดยสามารถปิดการขายได้ 100% สวนกระแสวิกฤติที่ไม่มีใครกล้าเปิดขายโครงการใหม่ ทั้งนี้ เพราะใช้แนวคิด “ลีนไขมันส่วนเกิน” ตัดต้นทุนก้อนใหญ่ในส่วน สำนักงานขายที่อนาคตอาจไม่จำเป็นคืนกลับให้ลูกค้า ผุดราคาขายได้ใหม่ต่ำกว่าตลาดมากกว่า 10% ในราคา 6.8 หมื่นต่อตร.ม. ขณะในระแวกเดียวกันขาย 8 หมื่นต่อตร.ม.
“การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีนัยยะ ไม่ต้องรอให้อะไรมาดิสรัปต์ การสร้างช่องทางใหม่ๆ ให้กับลูกค้าเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะ ราคาที่ต่ำกระชากใจ จะช่วยให้ดีเวลลอปเปอร์รอด ลูกค้าก็รอดด้วย อยากจุดพลุเรื่องนี้ให้อุตสาหกรรมเห็นร่วม”
ข่าวเดี่ยวเนื่อง
รถไฟฟ้าสายสีเขียว ดันดีมานด์คอนโดฯ "สะพานใหม่" โต 30%
online สู้ on Ground
นายพีระพงศ์ กล่าวต่อว่า ภายใต้แพลตฟอร์ม Evenprop นั้น ลูกค้ายังได้โปรดักต์เหมือนเดิม ไม่เสียภาพลักษณ์แบรนด์ จุดพ้อยส์คือ การแก้ราคาแพง ลูกค้าซื้อได้ต่ำ ผ่านการตัดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาสำนักงานขาย การจ้างพนักงานขาย กระทั่ง แม่บ้าน - รปภ. ซึ่งไม่มีความจำเป็น ในยุคที่ลูกค้าคนรุ่นใหม่ มีการศึกษาทำการบ้านเปรียบเทียบโครงการก่อนซื้อมาอย่างดี โดยย้อนไป แต่ละปีบริษัทมีโครงการใหม่นับ 10 โครงการ ตัดส่วนเกินดังกล่าวได้ เท่ากับต้นทุนที่ลดไปประมาณ 300 ล้าน กลับคืนให้ลูกค้า ซึ่งจะดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ๆที่กำลังมองหาได้ เช่น กลุ่มลูกค้าอายุน้อย ฐานรายได้ต่ำ ที่กำลังเริ่มมองหาที่อยู่อาศัย หรือ แม้แต่กลุ่มลูกค้านักลงทุนหน้าใหม่ เพราะสามารถสร้างกำไร หรือ ผลตอบแทนจากการปล่อยเช่าได้สูง 6-7% จากต้นทุนต่ำ แต่ปล่อยเช่าได้ในราคาเท่าเดิม
“เป็นความเชื่อ 10-20 ปี ว่าการขายต้องมีเซลล์แกลลอรี่สวยสัมผัสได้ ต้องถามลูกค้ายุคนี้่ยังต้องการหรือไม่ และนั่นคือต้นทุนส่วนเกินรวมกว่า 10% ที่อยู่ในราคาขาย 1. ค่าก่อสร้าง 2. ทีมขาย 3. การดูแล ร่วม 30 ล้านบาทต่อโครงการ จากค่าใช้จ่ายบวกลบ 1 ล้านบาทต่อเดือน รวมระยะก่อสร้างขายหมดไม่ต่ำกว่า 2 ปีที่เสียเปล่า”
ทั้งนี้ บริษัท เตรียมทำแล็ปรูมโครงการ คล้ายโชว์รูมรถยนต์ 1 แห่ง สำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่ ที่ไม่เคยมีประสบการณ์การซื้อมาก่อน ทดแทนการทำสำนักงานขายใหม่ๆ ในแต่ละปีสำหรับโปรดักต์ใกล้เคียงกัน รวมถึงใช้เทคโนโลยี 3 D, ม็อพอัพแบบจำลอง, วิดีโอแสดงลักษณะโปรดักต์ประกอบร่วมด้วย และทำงานร่วมกับบล็อกเกอร์
สูตรสำเร็จ ดิ ออริจิ้น
อย่างไรก็ตาม การขายในลักษณะดังกล่าว ยังมีข้อจำกัดต่อโปรดักต์กลุ่มราคาแพงทำไม่ได้ เพราะลูกค้ายังต้องการ การสัมผัส เห็นรูปลักษณ์ การได้รับบริการดีๆ ดึงดูด แต่แบรนด์ “ดิ ออริจิ้น” ซึ่งเสน่ห์ คือ การราคาดี ภาพอีเวนต์คนต่อคิวซื้อ แต่มีโควิดเป็นจุดพลิก นำมาสู่การต่อคิวในลักษณะออนไลน์แทนนั้น จะเป็นแบรนด์ต้นแบบสำหรับโมเดลนี้ ซึ่งปัจจุบันคอนโดฯ ดิ ออริจิ้น เป็นสัดส่วนพอร์ตโปรดักต์ประมาณ 25% ปีนี้เปิด 3 โครงการ มูลค่า 4.8 พันล้านบาท ซึ่งโฟกัสกลุ่มลูกค้าเจน Z ต่อเนื่องเจน Y อายุ 25 ขึ้นไป ผ่านราคาเข้าถึงได้ ล้านต้นๆ ผ่อนต่อเดือนประมาณ 9 พันบาท บนทำเลใกล้รถไฟฟ้า ย่านชุมชน ปล่อยเช่าได้ดี มีเรียลดีมานด์รองรับ หรือทำเลปลายเส้นทางรถไฟฟ้า เช่น ทำเล สายลวด สมุทรปราการ เป็นต้น โดยอาจได้เห็นราคาขายเคาะต่ำสุด 4.9 หมื่นต่อตร.ม. ซึ่งเป็นราคาขายที่ถอยหลังไปในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
หน้า 19-20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,603 วันที่ 23 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563
"ห้อง" - Google News
August 22, 2020 at 01:27PM
https://ift.tt/32afyY8
'โควิด' จุดพลิก ฉีกตำรา ไร้ห้องตัวอย่าง-ต่อแถวออนไลน์ - ฐานเศรษฐกิจ
"ห้อง" - Google News
https://ift.tt/2XmOq6Z
No comments:
Post a Comment