Pages

Tuesday, September 29, 2020

"นมแม่จากห้องแล็บ" จะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับแม่ที่ไม่สามารถให้นมลูกเองได้ไหม - บีบีซีไทย

berseterulah.blogspot.com

A photo of a baby being breastfed

เราเคยได้ยินบ่อยครั้งว่า "นมแม่ที่ดีสุด" แต่สำหรับแม่ที่ไม่สามารถให้นมลูกเองได้ล่ะ จะทำอย่างไร

องค์การอนามัยโลกบอกว่า นมแม่เป็นแหล่งอาหารและพลังงานที่สำคัญของลูก ให้ภูมิคุ้มกันโรค ลดความเสี่ยงโรคอ้วน และก็มีศักยภาพช่วยพัฒนาไอคิวเด็กเมื่อโตขึ้น

แม่ที่ไม่สามารถให้นมลูกเองได้มักจะหันไปพึ่งนมผง และตอนนี้ บริษัทสตาร์ตอัพอย่าง เทอร์เทิลทรี แล็บส์ (TurtleTree Labs) และ ไบโอมิลค์ (Biomilq) ก็ริเริ่มพยายามผลิต "น้ำนมแม่" ที่ไม่ได้มาจากเต้านมแล้ว

โดยปกติ นมผงจะผลิตจากนมวัวที่นำไปผ่านกระบวนการให้เหมาะกับเด็กทารกเป็นพิเศษ ให้สารอาหารช่วยให้เด็กเจริญเติบโต แต่ก็ไม่สามารถให้ประโยชน์แบบที่นมแม่แท้ ๆ จะให้ได้

เทอร์เทิลทรี แล็บส์ ใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากนมแม่แท้ที่ได้รับบริจาคมา จากนั้นก็นำไปใส่ในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ เพื่อพยายามสร้างให้กลายเป็นเซลล์ต่อมของเต้านมขึ้นมา

จากนั้นก็นำเซลล์ต่อมของเต้านมนี้ไปผสมกับสูตรพิเศษที่ทำให้ตัวเซลล์ผลิตนมออกมา ก่อนจะนำไปกรองและกลายเป็น "นมแม่" ในที่สุด

โดยสรุปคือ เราสามารถผลิตนมลักษณะนี้จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดใดก็ได้ ตราบใดที่เรามีเซลล์ต้นกำเนิดจากสัตว์ชนิดนั้นนั่นเอง

ด้านบริษัทไบโอมิลค์ ก็ใช้วิธีคล้ายกันแต่ใช้วิธีสร้างเซลล์เต้านมที่ต่างกันออกไป

นักวิทยาศาสตร์บอกว่า นมแม่มาจากส่วนประกอบนับพันประการ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน กรดไขมัน ฮอร์โมนส์ แบคทีเรีย หรือน้ำตาล เป็นต้น จึงเป็นเรื่องยากมากที่จะผลิตนมจากห้องทดลองขึ้นมาเลียนแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องภูมิคุ้มกันโรค หรือปฏิกริยาระหว่างแม่กับลูกที่ส่งผลต่อองค์ประกอบในน้ำนมด้วย

"นมแม่เป็นสิ่งที่ดีเยี่ยมที่สุดที่เรามี และไม่มีอะไรจะมาแทนที่ได้ ผมไม่เชื่อว่าเราจะสามารถทำได้ไม่ว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไรเพราะว่ามันเป็นอะไรที่มีความเป็นส่วนตัวมาก ๆ และมันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่แม่คนนั้นอยู่ และอาหารที่เขากิน" แม็กซ์ ไรย์ ผู้ร่วมก่อตั้งเทอร์เทิลทรี แล็บส์ กล่าว

เขาบอกว่า สิ่งที่บริษัทพยายามจะทำก็แค่ผลิตสิ่งที่ดีกว่านมผงที่วางขายอยู่ ที่เป็นการเอานมวัวไปผสมกับสารสกัดจากผัก และอื่น ๆ ที่คุณภาพห่างไกลจากนมแม่มาก

ช่วงไม่กี่ทศวรรษมานี้ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชี้ว่านมแม่ถูกผลิตขึ้นเพื่อลูกแต่ละคนโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัจจัยด้านพันธุกรรม ภูมิคุ้มกัน หรือแม้แต่ระดับน้ำตาล

"นมมนุษย์เป็นเหมือนลายนิ้วมือที่บ่งบอกอาหารของแม่และลูกอย่างเป็นเอกลักษณ์" ดร. นาตาลี เชนเคอร์ กล่าว เธอเป็นนักวิจัยจากอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน และผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิน้ำนมมนุษย์ (Human Milk Foundation) ซึ่งช่วยเหลือการให้นมลูกโดยธรรมชาติและเป็นธนาคารนมแม่ด้วย

คุณแม่ 2 คน กำลังคุยกัน ขณะให้นมลูก

"เป็นกระบวนการแบบสองทาง [นมแม่มาจาก]การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่กับสิ่งแวดล้อม หากแม่โดนเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ภูมิคุ้มกันก็จะผลิตแอนติบอดี ซึ่งจะส่งไปที่ยังเต้านม และออกมาในน้ำนมเพื่อป้องกันลูกจากเชื้อโรคนั้นโดยเฉพาะ"

องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าแม่ควรให้นมลูกอย่างน้อย 6 เดือนหลังเกิด แต่ทั่วโลก มีเด็กทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน 40% เท่านั้นที่ได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียว

ดร. เชนเคอร์ บอกว่า อุปสรรคของผลิตนมลักษณะนี้มีหลายประการ รวมถึงว่าจะคุ้มทุนด้วยหรือไม่

"ในฐานะของเหลว เลือดและนมไม่ได้แตกต่างกันขนาดนั้น… ต้องใช้เวลาหลายล้านปีกว่าที่นมจะกลายเป็นแหล่งอาหาร และก็เป็นวิธีช่วยระบบภูมิคุ้มกันและพัฒนาการของเด็กทารก ดังนั้นการสร้างนมจึงซับซ้อนกว่าสร้างเลือดมาก"

ดร. เชนเคอร์ บอกว่า แม้จะมีการวิจัยเรื่องการผลิตเลือดปลอมมากว่า 70 ปีแล้ว ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีผลิตภัณฑ์เลือดผลิตออกขายที่ทั้งปลอดภัยและมีประสิทธิภาพได้เลย

ดังนั้นเธอจึงมองว่าเกือบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะผลิตนมที่เหมือนนมแม่จริง ๆ แต่ก็สามารถมุ่งเป้าผลิตนมที่มีองค์ประกอบบางอย่างคล้ายนมแม่ได้

เทอร์เทิลทรี แล็บส์ เตรียมจะขายเทคโนโลยีที่พวกเขาคิดค้นได้ให้กับผู้ผลิตนมผง ขณะที่ไบโอมิลค์วางแผนจะผลิตนมและขายกับลูกค้าเองโดยตรง

เทอร์เทิลทรี แล็บส์ บอกว่า ความท้าทายอย่างหนึ่งคือการทำให้ลูกค้าเข้าใจว่ากระบวนการผลิตนมนั้นจะเหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์หรือวัว ไม่มีสารเคมีเจือปนใด ๆ ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ดี เริ่มมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์แล้วถึงเรื่องข้อกฎหมายและความโปร่งใสของกระบวนการผลิต โดยเทอร์เทิลทรี แล็บส์ ย้ำว่า จะไม่มีทางวางขายผลิตภัณฑ์จนกว่าจะทำการทดลองอย่างถี่ถ้วนว่าปลอดภัย

Let's block ads! (Why?)



"ห้อง" - Google News
September 30, 2020 at 08:35AM
https://ift.tt/3l3v3ZP

"นมแม่จากห้องแล็บ" จะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับแม่ที่ไม่สามารถให้นมลูกเองได้ไหม - บีบีซีไทย
"ห้อง" - Google News
https://ift.tt/2XmOq6Z

No comments:

Post a Comment